วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นักเรียนคิดว่าประชาคมอาเซียนในอนาคตเป็นอย่างไร?

ในการรวมกลุ่มอาเซียนนั้นก่อให้กิดข้อดีและข้อเสียต่างๆมากมาย ดิฉันคิดว่าในอนาคตประชาคมอาเซียนจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาชนในประชาคมอาเซียนมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เกิดความสงบสุข เกิดความหลากหลายทางความคิด และนอกจากนี้ไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากประชาคมอาเซียนเพราะอาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย แต่ในทางกลับกันในอนาคตประชาคมอาเซียนอาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย ปัญหาการแย่งาน และอื่นๆอีกมากมาย...

บทบาทสังคมไทยในการจัดตั้งอาเซียน

ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

  1. ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
  2. ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์
  3. ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน
  4. ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า
  5. ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
  6. ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน
ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
  • มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
  • การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
  • ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
  • ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540
การก่อตั้งในช่วงนั้นเกิดขึ้นท่ามกลางความคุกกรุ่นของสงครามเย็นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างประเทศมหาอำนาจในโลกเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ท่ามกลางความหวาดวิตกของประเทศในโลกเสรีประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกาที่หวั่นเกรงถึงการแพร่ขยายของแนวคิดคอมมิวนิสต์ของรัสเซียและจีนที่จะครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามทฤษฎีโดมิโน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาสำคัญในภูมิภาคนี้ เช่น กรณีเวียดนามรุกรานกัมพูชาเมื่อเดือนธันวาคม 1978 (พ.ศ.2521) โดยอาเซียนได้ปฏิเสธความชอบธรรมของรัฐบาลในพนมเปญที่ตั้งคณะรัฐบาลด้วยการยึดครองของกองทัพเวียดนาม พร้อมกับเรียกร้องให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชาในเดือนกันยายน 1989 (พ.ศ.2532) หรือการก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเออาร์เอฟ ภายหลังความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกัมพูชาในปี 1993 (พ.ศ.2536) เพื่อให้เป็นเวทีที่ขยายกว้างขึ้นในการหารือประเด็นเรื่องความมั่นคง
ส่วนในประเด็นเศรษฐกิจ อาเซียนได้มีการบรรลุข้อตกลงในการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) จากการประชุมสุดยอดที่สิงคโปร์ในปีเดียวกัน และหลังจากนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็ได้กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดยมุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020 (พ.ศ.2563) พร้อมมุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อันได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 4 ปี 2535 (ค.ศ. 1992) ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน
  • มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก
  • โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
    ตั้งแต่ปี 2540 (ค.ศ. 1997) อาเซียนได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยได้มีการแถลง ASEAN Vision 2020 ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting – AFMM)1/ และความร่วมมือกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
จากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ปี 2550 (ค.ศ. 2007) ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบที่จะให้เร่งการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจากปี 2563 (ค.ศ. 2020) เป็นปี 2558 (ค.ศ. 2015) โดยได้ร่วมลงนามในแผนการดำเนินงานไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint – AEC Blueprint)
ในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนยังได้ให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งกรอบทางสถาบันและกฎหมายสำหรับอาเซียนในการเป็นองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำในภูมิภาค โดยกฎบัตรอาเซียนจะมีผลบังคับใช้หลังประเทศสมาชิกทุกประเทศให้สัตยาบัน

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาเซียน +3

   กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)
ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
อาเซียน+3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า

วิสัยทัศน์อาเซียน

วิสัยทัศน์อาเซียน 2563
อาเซียน เพาเวอร์ กริด เกิดขึ้นในการประชุมผู้นำสูงสุด อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Informal Summit) ครั้งที่ 2 เมื่อ 15 ธันวาคม 2540 ที่กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เพื่อกำหนดทิศทางใหม่สู่ปี 2563 ด้วยวิสัยทัศน์อาเซียน 2563 (ASEAN Vision 2020)
"...การมีส่วนร่วมของกลุ่มประเทศอาเซียน ในการผนึกกำลังกันเพื่อพัฒนาความเจริญ และสร้างความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลักด้านพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนคือ...การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบพลังงานและสาธารณูปโภคในอาเซียน ได้แก่ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติและน้ำ โดยผ่านระบบเชื่อมโยงไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid) ระบบท่อส่งก๊าซและท่อส่งน้ำ (Trans-ASEAN Gas Pipeline) รวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือ ทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้อีก..."

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”  
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

ปฏิญญาอาเซียน


ปฏิญญาอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพ (อังกฤษ: Bangkok Declaration) เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม โดยกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน มิตรภาพและการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด วันดังกล่าวมีการจัดการเฉลิมฉลองเป็น วันอาเซียน

ประเทศสมาชิกที่สนใจ



ตราแผ่นดิน
ธงชาติ

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : 4.35 ล้านคน (พ.ศ.2548) ประกอบด้วยชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์ 13.8% ชาวอินเดีย 8.1% และอื่น ๆ 1.6%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD) อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) 23 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

  • ประธานาธิบดี คือ นายเอส อาร์ นาธาน (S R Nathan) (ดำรงตำแหน่งสองสมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542)
  • นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)

เสาหลักประชาคมอาเซียน

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน(ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter)

กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter)
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่13ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ผู้นำรัฐบาลอาเซียนได้ให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter) เพื่อปรับปรุงการทำงานของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมีกรอบในการทำงานที่ชัดเจน และสามารถปรับตัวตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมือง กฎบัตรอาเซียนเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่วางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรจัดระบบการทำงานและบริหารกลไกความร่วมมือระหว่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.2553 : 14)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) กล่าวถึงการศึกษาไว้ในบทที่ 1 ข้อย่อยที่ 10 ว่า “เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นด้านการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีพและด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างพลังประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ประชาคมอาเซียน ซึ่งผู้นำอาเซียนเห็นว่าความร่วมมือด้านการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นมิติที่สำคัญของเสาหลักทั้งสามด้านของประชาคมอาเซียนและได้ย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการเพิ่มความตระหนักในความเป็นอาเซียนและอัตลักษณ์ของอาเซียนรวมทั้งการส่งเสริมความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในอาเซียน
ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552 ประกอบด้วยประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ของบรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชาอินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนามได้เห็นชอบปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เพื่อยืนยันภารกิจในการสนับสนุนการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ทั้ง 3 เสาหลักต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันให้สำเร็จภายในปี 2558 ตามที่ได้ตกลงกันโดยผู้นำในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 13 มกราคม2550 (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2552 ก: 16-17) ดังมีรายละเอียดดังนี้
ปฏิญญาหัวหิน-ชะอำ ว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (พ.ศ. 2552-2558 ) ประกอบด้วยร่างแผนงานของ 3 ประชาคม และแผนปฏิบัติงานสำหรับข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนฉบับที่ 2 ที่เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในฐานะเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนโดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและการมั่นคง
ได้แก่การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การส่งเสริมหลักการของประชาธิปไตย การส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักถึงคุณค่าและค่านิยมทางวัฒนธรรมการสร้างเครือข่ายผู้บริหารโรงเรียน เพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษา การจัดงานฉลองวันอาเซียนในประเทศสมาชิก ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นวันสถาปนาอาเซีย
2.บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
ได้แก่การจัดทำกรอบการพัฒนาทักษะในอาเซียน การพัฒนากรอบทักษะ ในการถ่ายโอนนักเรียน การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีความชำนาญการในภูมิภาค การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน ที่สนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
3.บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
ได้แก่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอัตลักษณ์อาเซียน การวิจัยและพัฒนาของอาเซียน การสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน การจัดทำเนื้อหาอาเซียนร่วมกัน ตลอดจนการแบ่งปันทรัพยากรและจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค
ปฏิญญาดังกล่าวจึงเป็นกรอบการดำเนินงานของอาเซียนที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านเสาหลักอาเซียนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันโดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของแรงงานและการจัดระบบรองรับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ที่เน้นความสามารถของแรงงานอาเซียน (ASEAN Workforce Competency)
4. แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community) (พ.ศ. 2552 –2558 )
ในปีพ.ศ. 2552 ผู้นำอาเซียนได้ให้การรับรองแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (เล่มเขียวของตุ้มงานวิพากษ์แผนอาเซียน หน้า23) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 โดยมีเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน (Caring and Sharing Society) เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และความเป็นเอกภาพในหมู่สมาชิกอาเซียน โดยเสริมสร้างอัตลักษณ์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และสวัสดิการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ภูมิภาคและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว อาเซียนจะส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาอย่างเที่ยงธรรม ส่งเสริมการลงทุนทางการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิต การฝึกอบรมและการเพิ่มขีดความสามารถ ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ในกิจกรรมด้านสังคมและเศรษฐกิจ
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนให้ความสำคัญต่อการบูรณาการการศึกษาเข้ากับวาระของอาเซียนด้านการพัฒนาและการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ โดยเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง การส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ปฐมวัย และการปลูกฝังเรื่องของอาเซียนในกลุ่มเยาวชนผ่านการศึกษาและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
5. ยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียน ( ASEAN 5-Year Plan on Education 2011 – 2015)
ที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 6ได้รับรอง แผนยุทศาสตร์ 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียนเพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานด้านการศึกษาของอาเซียน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนผ่านความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน
อาเซียนมีเป้าหมายในการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ด้วยการสร้างความตระหนักในคุณค่าการเป็นพลเมืองอาเซียนในสังคมทุกระดับทั้งในสาขาการศึกษายุทธศาสตร์ ในการดำเนินการ ดังกล่าวประกอบด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการ จัดทำโครงการอาเซียนศึกษา ในภูมิภาค หลักสูตรของโรงเรียนในอาเซียน ในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้รวม การเรียนการสอนเกี่ยวกับอาเซียนไว้ด้วย รวมทั้งจัดทำโครงการฝึกอบรมครูและ พัฒนาสื่อสารเรียนการสอนในภูมิภาค รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างสมาชิกอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ย่อยดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2.1 การเสริมสร้างโอกาสในการได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ในปี 2558
ยุทธศาสตร์ที่ 2.2 การเพิ่มคุณภาพการศึกษา การจัดมาตรฐานการศึกษา การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาอาชีพ ด้วยการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษา ส่งเสริมการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต รวมทั้งมีระบบการตอบแทนครูที่มีผลงานเป็นเลิศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนและการจัดการศึกษาให้มีความเป็นสากลโดยการจัดการศึกษาในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและสภาพเศรษฐกิจของโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญสูงและสามารถเคลื่อนย้ายข้ามภูมิภาคได้
2. การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาในด้านคุณภาพ การให้บริการในสาขาต่างๆ ที่มีทางเลือกอย่างหลากหลายและมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
3. สภาพสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ทำให้ทุกประเทศต้องการแรงานที่มีความรู้ ความชำนาญ สูงและต้องได้รับการพัฒนาเฉพาะด้านอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลของประเทศต่างๆ จึงตั้งเป้าหมายเพื่อจัดการศึกษาข้ามพรมแดน ส่งผลให้การพัฒนาการศึกษา ต้องคำนึงถึงคุณภาพ การเสริมสร้างเศรษฐกิจ และประสานสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
6.นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษา ในอาเซียนสู่เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรหลัก ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ทั้งนี้ที่ประชุมเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2553 ได้เห็นชอบนโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นโยบายที่1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารและเจตนคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน อัตลักษณ์อาเซียน และเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนนักศึกษาและประชาชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558
นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียนรวมทั้งการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ
นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วยการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษาการพัฒนา ความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับหารเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ
นโยบาย 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเป็นการจัดทำความร่วมมือด้านการศึกษาของกระรวงศึกษาธิการเพื่อขับเคลื่อนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยการผนึกความร่วมมือของหน่วยงานทั้งในประเทศและประเทศสมาชิกอาเซียน
นอกจากนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานหลักจัดทำแผนปฏิบัติการตาม นโยบายตามปฏิญญาชะอำ - หัวหินว่าด้วยว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรแบ่งปัน